ที่มา : https://f.ptcdn.info/809/024/000/1414117823-IMG9223ff-o.jpg |
แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อยู่หมู่บ้านโป่งมะนาว ตำบลห้วยขุนราม
อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
อยู่ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมไปทางทิศตะวันออกประมาณ 45 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอน
ลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นเชิงภูเขา
มีลำห้วยสวนมะเดื่อเป็นทางน้ำธรรมชาติที่สำคัญและเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ชุมชนบ้านโป่งมะนาวร่วมกับคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นตั้งแต่ พ.ศ. 2543-2545 แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวเป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยและสุสานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ติดต่อกัน 2 ช่วง ดังนี้
1. ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยแรกของบ้านโป่งมะนาว อายุราว 2,500-3,500 ปีมาแล้ว พบหลักฐาน ได้แก่
โครงกระดูก ขวานหินขัด เครื่องประดับลักษณะแผ่นกลมแบนเจาะรูตรงกลางทำจากกระดองเต่า ลูกปัดและกำไลข้อมือทำจากหินอ่อนสีขาว และลูกปัดและกำไลข้อมือทำจากเปลือกหอยทะเล
2. ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยสุดท้ายของบ้านโป่งมะนาว อายุราว 2,000-2,500
ปีมาแล้ว
พบหลักฐานโบราณวัตถุและร่องรอยทางโบราณคดีที่บ้านโป่งมะนาว ได้แก่ โครงกระดูกคนจำนวนมาก
มีสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับฝังร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ ภาชนะดินเผา กำไลและแหวนสำริด เครื่องมือเหล็ก
ลูกปัดหินกึ่งอัญมณี เช่น
หินโมราและหินโมกุล ลูกปัดแก้ว
แม่พิมพ์ทำด้วยดินเผาใช้สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ
แวดินเผา สำหรับใช้ปั่นเส้นด้าย ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น
ที่มา : http://www.sac.or.th/databases/archaeology/sites/default/files/SpindleWhorl.jpg |
ที่มา : https://www.museumsiam.org/upload/MUSEUM_175/2015_12/1450182948_514.jpg |
โบราณวัตถุหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงการติดต่อกันระหว่างชุมชนโบราณบ้านโป่งมะนาวกับชุมชนอื่นทั้งที่อยู่ใกล้เคียงและชุมชนห่างไกล
เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเปลือกหอยทะเล ชิ้นส่วนเปลือกหอยมือเสือ
เครื่องประดับที่ทำจากแก้ว หินอ่อน และหินกึ่งมีค่า รวมทั้งก้อนวัตถุดิบทองแดง
เป็นต้น สิ่งของเหล่านี้ไม่มีวัตถุดิบอยู่ในท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังปรากฏสิ่งของที่แสดงให้เห็นถึงความเหมือนหรือคล้ายกับสิ่งของในชุมชนอื่น
เช่น เครื่องมือเหล็กรูปโค้ง และภาชนะดินเผาที่ผิวด้านในมีการขัดและรมดำ
คล้ายคลึงกับภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ
ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในเขตจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน
เป็นต้น พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญและเห็นได้ชัดในชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
ได้แก่ เทคโนโลยีเกี่ยวกับโลหะ โดยเฉพาะสำริดและเหล็ก
หลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่พบจนถึงปัจจุบัน
แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เมื่อยุคก่อนประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ราว 2,500
ปีมาแล้วนั้น บริเวณบ้านโป่งมะนาวได้พัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาก
โครงกระดูกมนุษย์กว่า 100 โครงถูกลักลอบขุดทำลายไปแล้วที่บริเวณวัดโป่งมะนาว
และโครงกระดูกที่ได้รับการขุดค้นทางวิชาการโบราณคดีอีกหลายสิบโครงเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ชัดเจนว่าชุมชนนี้มีประชากรหนาแน่นมาก
ที่มา : http://www.thongthailand.com/private_folder/atiew6/lopbu19.jpg |
พบความแตกต่างกันของลักษณะบางประการที่ปรากฏบนโครงกระดูกมนุษย์
มีนัยแสดงถึงการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกัน อาจชี้ให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่ในการทำงานภายในครอบครัวหรือภายในชุมชน
อีกทั้งการพบความแตกต่างของสิ่งของที่ฝังร่วมกับศพหรือวัตถุอุทิศในแต่ละหลุมฝังศพ
ด้านการดำรงชีวิต
สันนิษฐานว่าชุมชนดังกล่าวน่าจะเป็นชุมชนที่รู้จักการทำเกษตรกรรมแล้ว
ดังเช่นชุมชนโบราณร่วมสมัยอื่นๆ หลักฐานที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ เช่น
ชิ้นส่วนแกลบข้าวในเศษภาชนะดินเผา หรือหลักฐานเกี่ยวกับอายุของสัตว์เมื่อตาย อีกทั้งการดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรมของคนในชุมชน
น่าจะเป็นไปในลักษณะควบคู่ไปกับการหาของป่าและล่าสัตว์
โดยสินค้าเหล่านี้นอกจากจะใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคในชุมชนแล้ว
ยังสามารถใช้เป็นสินค้าสำหรับค้าขายแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นได้อีกด้วย
ที่มา : http://archaeoalumni.org/sites/default/files/styles/max_height_300px/public/PMN.jpg?itok=I8Vl5QdT |
ด้านสิ่งของเครื่องใช้ในชุมชนพบว่ามีรูปแบบที่หลากหลาย
ตัวอย่างเช่นภาชนะดินเผา โดยเฉพาะที่พบในหลุมฝังศพ มีอยู่หลากหลายรูปทรง ได้แก่
ทรงหม้อก้นกลม ทรงชาม ทรงพาน ทรงอ่าง ทรงถ้วย ทรงถ้วยมีเชิง ทรงขัน และทรงกระปุก
รูปแบบที่พบมากสุดคือทรงหม้อก้นกลม ทรงพาน และทรงชาม ด้านการตกแต่งภาชนะก็มีความหลากหลายเช่นกัน
เช่น ทาน้ำดิน ขัดมัน ขูดขีด ขุด เชือกทาบ รวมทั้งไม่มีตกแต่งหรือแบบเรียบและจากการศึกษาทาง พบว่าภาชนะเหล่านี้น่าจะมีการผลิตขึ้นได้เองภายในชุมชน
โดยใช้วัตถุดิบจากในพื้นที่ นอกจากนี้
ยังพบหลักฐานของการผลิตเส้นใยผ้าและการใช้ผ้า โดยนอกจากจะพบแวดินเผาแล้ว
ยังพบเศษผ้าที่ติดอยู่กับกระดึงสำริดขนาดใหญ่และเศษผ้าที่ติดอยู่กับกำไลข้อเท้าสำริดขนาดใหญ่ในหลุมฝังศพ
เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบได้แก่
เครื่องมือหินขัด หัวลูกศรสำริด เครื่องมือเหล็กรูปแบบต่างๆ เช่น ขวาน สิ่ว
เครื่องมือขุด ใบหอก หัวลูกศร มีด ดาบ เครื่องมือคล้ายมีดขอหรือขอชักไม้
ลักษณะรูปร่างคล้ายนก เครื่องมือเหล็กเหล่านี้มีทั้งแบบมีช่องเข้าด้าม มีบ้อง
และมีกั่น นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือกระดูกปลายแหลมที่ทำจากกระดูกยาวของสัตว์
และเครื่องมือทำจากเขาสัตว์วงศ์กวาง และวงศ์วัว/ควาย
เครื่องประดับ
พบว่ามีความหลากหลายทั้งด้านรูปแบบ การตกแต่ง และวัตถุดิบ เช่น กำไล ทำจากสำริด
เหล็ก หิน กระดูก งาช้าง เปลือกหอย, แหวน ทำจากสำริด, ลูกปัด
ทำจากหินกึ่งมีค่า แก้ว เปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขี้ยวสัตว์ สำริด, ต่างหู
ทำจากหินอ่อน หินกึ่งมีค่า แก้ว สำริด กระพรวนและกระดึง
ทำจากสำริด เครื่องประดับทำจากกระดองเต่า
และห่วงเหล็ก เป็นต้น
ที่มา : https://i.ytimg.com/vi/V-YEhd-E_XQ/hqdefault.jpg |
ปัจจุบันแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของท้องถิ่นและของจังหวัดลพบุรี
ภายในวัดโป่งมะนาวและแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
มีทั้งพิพิธภัณฑสถานชุมชนบ้านโป่งมะนาว และการจัดแสดงหลุมขุดค้นทางโบราณคดี (Site
museum) อีกทั้งทำการจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์โบราณและรวบรวมวัตถุโบราณนานาประเภท
มาจัดแสดงไว้ที่วัดโป่งมะนาวโดยให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดประจำหมู่บ้าน ใช้ชื่อว่า
"พิพิธภัณฑสถานชุมชนบ้านโป่งมะนาว" โดยมีมัคคุเทศก์และยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้บริการนำชม
อีกทั้งยังมีการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นภายในพิพิธภัณฑ์
แหล่งที่มา :
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2549). บ้านโป่งมะนาว.
สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561 จาก http://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/บ้านโป่งมะนาว
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2552). แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว. สืบค้นเมื่อ
7 มีนาคม 2561 จาก http://library.tru.ac.th/inlop/lptour/160-lptubpm.html
The 10 best casinos in the Netherlands for real money - JTG Hub
ตอบลบ10 best casinos in the Netherlands for real 포천 출장안마 money. — 서울특별 출장마사지 to the number of players who join 과천 출장안마 The 파주 출장샵 Top 5 casinos in the Netherlands. 문경 출장안마