วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีประตูผา




                   สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เราจะมาอัพเดทข้อมูลความรู้ทางโบราณคดีในประเทศไทยกันอีกแล้วนะคะ ผู้อ่านหลายคนอาจจะเคยอ่านหรือศึกษาข้อมูลโบราณสถานหรือโบราณวัตตุกันมามากพอสมควรแล้ว แต่ในส่วนของบล็อกนี้ เราจะมานำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภาพเขียนสีในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งน้อยคนนักที่จะให้ความสนใจในแหล่งโบราณคดีประเภทนี้  เราจึงหยิบยกเอาประเด็นนี้มานำเสนอให้ทุกคนได้อ่านกัน หวังว่าทุกคนคงจะชอบ อีกทั้งยังได้รับความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีประตูผา จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่าา...





ที่มา : https://www.thainorthtour.com/img/upload/city-56cb5dc40a4ef.jpg
           

                ภาพเขียนสีประตูผา เป็นแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่บนเชิงดอยประตูผาซึ่งเป็นแนวเขาชายขอบด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแอ่งประตูผา โดยแอ่งประตูผาอยู่บริเวณเทือกเขาผีปันน้ำตอนกลางซึ่งแบ่งเขตจังหวัดลำปางกับจังหวัดพะเยาพอดี ภาพเขียนสีประตูผาตั้งอยู่ในเขตอำเถอแม่เมาะเข้าสู่อำเภองาว จังหวัดลำปาง อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามของประตูผาหรือหน้าผาหินปูนอันสูงชันและป่าไม้ที่ร่มรื่นเขียวขจี  ภาพเขียนสีประตูผาแห่งนี้มีอายุราว 2,900 - 3,200 ปีมาแล้ว อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตรงกับสมัยหินใหม่ และตรงกับสมัยล้านนาตอนปลาย โดยการกำหนดค่าอายุเชิงปรียบเทียบและการกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ประเภทของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นได้ทั้งสุสาน แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งศิลปะถ้ำ


ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi_DKiIeEec3wDItceirQVvUO_QgB7l9-a8Q3AFBbLu96-4BYaNA46P5ATu7V5Ytnn426KmYHHmqID15eTIsMRicGSwRbTJnbCLX5WBMYoEFnRFTvzfLlmBPGjPT4b6TsooVankqJn-dhGN/s1600/DSCN9375.JPG
           
                พบภาพเขียนสีแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดย ร.อ. มีโฉม   ชูเกียรติ  นายทหารสังกัดกองพันฝึกรบพิเศษที่ 3 ประตูผา จากการฝึกโรยตัวลงมาจากหน้าผาแล้วสังเกตเห็นภาพเขียนสีแดงหลายภาพบริเวณหน้าผา จากนั้นมีกรมศิลปากร นำโดย ชินณวุฒิ   ชิลยาลัย เข้ามาทำการสำรวจ ขุดค้น ศึกษาในด้านต่างๆต่อ ในปีพ.ศ. 2541 มีการพบภาพเขียนสีกระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ พบตั้งแต่ภาพที่มีความสูงอยู่ในระดับประมาณเอวไปจนถึงระยะ 10 เมตร


ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgHkjxk4mVAMTksnK8cb5y4CxncHJmhMNIb2zOIucDPmN68sJp9Rv5GNIakz2dhog3lIfmw68bw-S6pwKRGCAAUrqAQ557p-0yAfItw76NuRHFeBH7rRVPFxAoTwD38oIihXFRbnxdCM8SN/s1600/DSCN9408.JPG

                     จากการศึกษาของกรมศิลปากร พบว่าภาพทั้งหมดมีมากกว่า 1,872 ภาพ โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ตามลักษณะการเว้าของหน้าผา โดยแต่ละกลุ่มภาพมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผาเลียงผา      ประกอบไปด้วยภาพเลียงผา วัว เต่า นก ม้า ปะปนกับภาพมือ ทั้งแบบเงาทึบและกึ่งเงาทึบที่มีการตกแต่งลวดลายภายในมือเป็นลายเส้นแบบต่างๆ อีกทั้งยังพบภาพเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiow42nUQRv4nHs8mtVtQLygvvKfBEzkcu9Fz8AK-pUE2iDIWJ6ll0RL_Mtb7p3yE8t9fiyMpgBRHS8zXbrb9G_6kEG4VVB2ZfAslSSxwtqJkCvjJZqM5iiX71cD231puDIghiktFEvPItb/s1600/DSCN9400.JPG

กลุ่มที่ 2 ผานกยูง         ประกอบไปด้วยภาพคนเพศชาย ถาพสัตว์คล้ายนกยูง ภาพสัตว์เลื้อยคลาน ประเภทตะกวด พังพอน กระรอก บ่าง ภาพสัญลักษณ์คล้ายดอกไม้ ถาพวัว ภาพที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีการตกแต่งภายใน พบภาพที่มีลักษณะคล้ายภาชนะที่ทำด้วยโลหะ อีกทั้งยังพบภาพมือแบบกึ่งเงาทึบและการพ่น การวาดแบบอิสระ

กลุมที่ 3 ผาวัว         ประกอบไปด้วยภาพเงาทึบและภาพโครงร่างของสัตว์คล้ายวัว กระจง เก้งหรือกวาง บางภาพเป็นโครงร่างขนาดใหญ่ของสัตว์มีเขาคล้ายวัว มีภาพมือประทับและตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ  ด้านหน้าวัวปรากฏภาพคน 7 คน ยืนรายล้อมอยู่ จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งประกอบพิธีกรรมฝังศพวาดภาพเขียนสี


ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiGZc_y4qQyUMX5Zpqjn_oOo8LF9VOqIf3h4YCnqfGi5e4UYVkRY-NyEwbsNLlm9GG_lv4kGlwl1db5fF-KfPRu6BH4EK3aXSLq5wP2xm1njEwLZ7QHpkux5A9lcaSIhUR8a9hIQlKmrUH4/s1600/DSCN9423.JPG

กลุ่มที่ 4 ผาเต้นระบำ        ประกอบไปด้วยภาพคน 5 คน และสัตว์ มีคนในภาพนุ่งผ้าทรงกระบอกโป่งพอง ถืออาวุธคล้ายธนู ด้านหลังของคนดังกล่าวมีภาพคนอีก 2 คน กำลังเคลื่อนไหวก้าวเท้าไปข้างหน้า และมีภาพเงาทึบของวัวหันหน้าเข้าหากันในลักษณะต่อสู้ และมีภาพบุคคลแสดงกิริยาเคลื่อนไหวในท่าวิ่งเข้ามาอยู่ระหว่างวัวทั้งสองตัว คล้ายกับการห้ามวัว


ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiu30Jd9_XdmqYcXUmlMx6G3zHQD79maduv3_6uVG9Sve2m0aXhfMk8wdTA50qHdwxyPzBbLBeHYwTyBIl9zRgLtS4Q7uoVvFihQsdWy_svpbtx8KpyKqTaL-N1aosxdg2R6cb3XS16Ncwz/s1600/DSCN9437.JPG

กลุ่มที่ 5 ผาหินตั้ง     สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน  โดยส่วนแรกจะต่อเนื่องกับกลุ่มภาพที่ 4 โดยปรากฏเป็นภาพกลุ่มคน 9 คน วาดแบบตัดทอนส่วน ภาพสัตว์คล้ายเก้ง ภาพสัญลักษณ์  อีกส่วนหนึ่งเป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของบุคคลนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้ ร่างของบุคคลถูกวาดตามแนวขวางตลอดทั้งตัว และมีเครื่องหมายกากบาททับไว้ในบริเวณบริเวณส่วนทรวงอก ซึ่งอาจหมายถึงร่างของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว

กลุ่มที่ 6 ผานางกางแขน      ปรากฏภาพบุคคลคล้ายสตรีที่มีส่วนท้องค่อนข้างใหญ่ แขนทั้งสองข้างกางออกไปด้านขางของลำตัว ปลายแขนงอลง ในระดับบนของกลุ่มภาพยังพบภาพคล้ายบุคคลที่มีศีรษะกลม ช่วงล่างของศีรษะในระดับหูมีติ่งยื่นออกมาทั้ง 2 ข้าง คล้ายหมวกปีกหนา แขนขนาดเล็กทั้ง 2 ข้างกางออกตั้งฉากกับลำตัวที่มีส่วนท้องขนาดใหญ่ มีการใช้เทคนิคการวาดภาพโครงร่างและใช้ลายเส้นเล็กๆขีดทับในบบริเวณส่วนลำตัว ซึ่งอาจเป็นการสื่อความหมายให้เห็นรายละเอียดของขนสัตว์

กลุ่มที่ 7 ผาล่าสัตว์       เป็นภาพกลุ่มสุดท้ายที่พบ จากลักษณะเพิงผาที่ตัดตรง ทำให้ภาพเขียนสีลบเลือน ภาพที่ปรากฏเป็นภาพบุคคล 2 คน นุ่งผ้าปล่อยชายยาว บุคคลทางด้านขวาของภาพถืออุปกรณ์วงกลมลักษณะคล้ายห่วง แสดงการเคลื่อนไหวคล้ายจะคล้องจับเอาวัว ส่วนบุคคลอีกคนหนึ่งถือวัตถุคล้ายไม้ในลักษณะเงื้อง่า คล้ายอาการตีวัว ซึ่งอาจแสดงถึงกิจกรรมการจับหรือฝึกฝนสัตว์

                    ราบละเอียดเนื้อหาต่างๆของภาพเขียนสีทำให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการดำรงชีวิตที่น่าจะมีทั้งการล่าสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ ทำให้ทราบถึงสภาพแวดล้อมในอดีต ทราบถึงลักษณะการแต่งกายของคนในสมัยนั้น ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับความตายหรือการปลงศพของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น


ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiONK1Wpuqa2gidDWaIDw9YU-1IQgGgLIkT8dzsGRfXkLWxT_K2hIvZ26FCNSn1B1YThybA6L2T3nGxJtD6seid22oOT2V-Rk32eFMyl4hkzEGbpqBfrtXSsjtkxzXOikmb32mDO5zOw4WK/s1600/DSCN9412.JPG

การเขียนเขียนด้วยสีแดงที่มีความเข้มจางของสีต่างกันในแต่ละภาพ สีแดงน่าจะมาจากดินเทศ เพราะพบหลักฐานจากการขุดค้นบริเวณเพิงผาใต้ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 1 ที่พบก้อนดินเทศมีร่องรอยการขัดฝนจนเรียบ  แหล่งวัตถุดิบของดินเทศน่าจะมาจากภายในพื้นที่ เพราะในแอ่งประตูผา โดยเฉพาะบริเวณเนินเขาต่างๆ พบก้อนดินเทศหรือหินสีแดงขนาดต่างๆกระจายอยู่ทั่วไป อุปกรณ์ผสมสีและใส่สี น่าจะเป็นเปลือกไม้หรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว น้ำเต้า กระบอกไม้ไผ่ หรืออาจเป็นภาชนะดินเผา อุปกรณ์ระบายสี ภาพบางภาพมีลายเส้นขนาดเล็กมาก จึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะใช้พู่กันวาด ซึ่งพู่กันอาจทำจากกิ่งไม้หรือแท่งไม้ทุบปลายจนนิ่ม สามารถซึมซับน้ำสีได้ หรืออาจเป็นดอกหญ้าหรือขนสัตว์หรืออื่นๆ มัดรวมเป็นจุก ส่วนการระบายหรือลงสีทึบของภาพแบบเงาทึบ อาจใช้ทั้งพู่กันหรือนิ้วมือ



ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi__mxQfZPNqJDCSjO3Nb_LShigk080eHBLszMsnwGXZXQKOIC5ZriRzoiNOUG3Tr6UFBEThEkvNd9E7EDMZI_5PdVU1U_kzYr3M_J-nGGzGFh-3EM5cwIgO2hORXQCbn4i8lprvSsuXfy5/s1600/DSCN9402.JPG


และสุดท้ายนี้แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีค่ายประตูผา ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแห่งหนึ่งในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ดำเนินการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา หากมีโอกาสก็อยากจะไปชมแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ อยากไปดูภาพเขียนสีต่างๆยังสถานที่จริง ที่แห่งนี้คือที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ นอกจากจะได้ความรู้ทางโบราณคดีแล้ว ยังได้สัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติที่สวยงามอีกด้วย ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบล็อกต่อไป บ๊ายบายค่าาา :)











แหล่งที่มา :

คนเล่าเรื่องผ่านกองไฟ. (2557). มหัศจรรย์ภาพเขียนสีหรือฮูปแต้ม...ประตูผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://travelpangsida.blogspot.com/2014/06/3000.html

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรภาพเขียนสีค่ายประตูผาสืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/ภาพเขียนสีค่ายประตูผา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เชิญชมเทวสถาน ปราสาทหินศรีขรภูมิ

             สวัสดีค่ะทุกคน  กลับมาพบกันอีกครั้งในบล็อกนี้ เราจะพาทุกคนไปยังดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเรา  นั่นก็คือจังหว...