สวัสดีค่ะทุกคน🙏🏻😁 มาพบกับนิ้งลี่คนดีคนเดิมกันอีกแล้ว วันนี้เราจะพาย้อนกลับไปสู่เมืองโบราณแห่งอาณาจักรล้านนากันเลยทีเดียว และเมืองโบราณแห่งนี้มีชื่อว่า เวียงกุมกาม นั่นเอง หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วในส่วนของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือข้อมูลทางโบราณคดีเกี่ยวกับเวียงกุมกาม แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปถึงรายละเอียดของเมืองโบราณแห่งนี้ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เมืองแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อไหร่ ตั้งอยู่ที่ไหน มีลักษณะที่สำคัญอย่างไรบ้าง ไปติดตามอ่านกันเลยจ้าวววว
"เวียงกุมกาม" ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เวียงกุมกามนั้นเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอารณาจักรล้านนา โดยพญามังราย กษัตริย์แห่งโยนกนคร ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1819 ซึ่งในสมัยนั้น พญามังรายได้แผ่อำนาจมายังลุ่มแม่น้ำกก และได้เข้ายึดครองเมืองหริภุญชัยหรือเมืองลำพูนในปัจจุบัน เนื่องจากว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิที่ดี อุดมสมบูรณ์ จึงถือเป็นศูนย์กลางทางการค้าและความเจริญในขณะนั้น
หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัยเป็นเวลานาน 2 ปี จึงคิดรึเริ่มที่จะสร้างเมืองขึ้น นั่นก็คือ เวียงกุมกาม ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน โดยไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ แล้วจึงทรงสถาปนาเวียงกุมกามเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา แต่เนื่องจากเวียงกุมกามตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิง จึงส่งผลให้เกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง หลังจากนั้นพญามังราย พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ร่วมกันหาที่สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ในที่สุดจึงได้เมืองนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นเมืองหลวงต่อมาของอาณาจักรล้านนา
หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัยเป็นเวลานาน 2 ปี จึงคิดรึเริ่มที่จะสร้างเมืองขึ้น นั่นก็คือ เวียงกุมกาม ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน โดยไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ แล้วจึงทรงสถาปนาเวียงกุมกามเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา แต่เนื่องจากเวียงกุมกามตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิง จึงส่งผลให้เกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง หลังจากนั้นพญามังราย พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ร่วมกันหาที่สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ในที่สุดจึงได้เมืองนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นเมืองหลวงต่อมาของอาณาจักรล้านนา
ที่มา : http://qr.wiangkumkam.com/th/view-attraction-5/ |
ลักษณะของเวียงกุมกามมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝังทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ก็เชื่อว่า เป็นเพราะกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามนั้นเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำปิงดังปัจจุบัน
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/akom/2007/04/29/entry-2 |
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=29010 |
เนื่องจากเวียงกุมกามล่มสลายเพราะการเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ แต่ประวัติของเวียงกุมกามไม่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ใดเลย แต่เรื่องราวของเวียงกุมกามนั้นเริ่มเป็นที่สนใจในกลุ่มนักวิชาการและประชาชนทั่วไป ในปีพ.ศ. 2527 หน่วยศิลปากรที่ 4 จึงทำการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งค้นพบโบราณสถานต่างๆมากมาย และทำการบูรณะฟื้นฟูสภาพโบราณสถาน วัดร้างต่าง แต่เนื่องจากผลของการเกิดน้ำท่วมในอดีตทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมอยู่ใต้ตะกอนดิน จึงทำให้ยากต่อการฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับ ความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร
จากการสำรวจพบว่ามีอยู่มากกว่า 40 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถานและเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ ซากเจดีย์วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว วัดอีค่าง ซึ่งมีรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนี้ มีทั้งแบบรุ่นเก่าและแบบสมัยเชียงใหม่ยุครุ่งเรืองปะปนกันไป
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/akom/2015/06/14/entry-1/comment |
ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้ทางการศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาต่างๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ
ข้อมูลเพิ่มเติม :
แหล่งที่มา
ไกรสิน อุ่นใจจินต์. (2557). เวียงกุมกาม. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://qr.wiangkumkam.com/th/info-1/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น